วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การแลกเปลี่ยนข้อมูล EDI


EDI คืออะไร
1. EDI ( Electronic Data Interchange ) คืออะไร ?

คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง มีสององค์ประกอบที่สำคัญในระบบ EDI คือ การใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาแทน เอกสารที่เป็นกระดาษเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากลด้วยสองปัจจัยนี้ ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก

2. ประโยชน์ของ EDI คืออะไร ?

 ประโยชน์หลัก ๆ ของ EDI ต่อธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
  เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ในการรับ-ส่งเอกสาร
  ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร
  สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
  ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน
  เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
  เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า

3. เหตุใดจึงต้องใช้รูปแบบมาตรฐานสากล สำหรับเอกสาร EDI ?

มาตรฐานเอกสาร EDI เปรียบเสมือนภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคู่ค้า มาตรฐานเอกสาร EDI ที่ใช้อยู่ปัจจุบันในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกมีอยู่หลายมาตรฐาน อาทิเช่น ANSI X12 ซึ่งใช้แพร่หลายในประเทศอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย, ODDETTE, TRADACOMS ซึ่งใช้กันอยู่ในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป สำหรับประเทศในทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย ส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานของ UN/EDIFACT ซึ่งย่อมาจาก United Nation/Electronic Data Interchange for Administration, Commerce, and Transportation เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย United Nation ขณะนี้ หลายๆ ประเทศกำลังพยายามปรับมาตรฐานของตนให้เข้ากับมาตรฐานนี้เนื่องจากมีการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

4. เอกสารประเภทใดบ้างที่ใช้ EDI มาทดแทนได้ ?

เอกสารทางธุรกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สามารถทดแทนด้วยเอกสาร EDI ได้ทั้งหมด เช่น
  เอกสารทางด้านการจัดซื้อ ได้แก่ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสนอราคา (Quotation) ใบแจ้งราคาสินค้า (Price/Sales Catalogue) เป็นต้น

  เอกสารทางด้านการเงินได้แก่ ใบสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน (Payment Order) ใบแจ้งการสั่งจ่าย (Remittance Advice) เป็นต้น

  เอกสารทางด้านการขนส่ง ได้แก่ ใบตราส่ง (Bill of Lading) ใบจองตู้สินค้า (Booking) แผนผังการบรรทุกสินค้าภายในเรือ (Bayplan) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) เป็นต้น

  เอกสารทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ใบขนสินค้า (Customs Declaration) บัญชีตู้สินค้า (Manifest) เป็นต้น

5. ธุรกิจประเภทใดที่สามารถนำ EDI มาใช้ได้ ?

ทุกธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมากและเป็นประจำโดยมีขั้นตอนซ้ำๆ แต่ต้องการความถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำของข้อมูลเช่นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ ธุรกิจขนส่งซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบในการจัดการขนส่งสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

6. ผลกระทบของการใช้ EDI กับระบบการทำงานของพนักงานในปัจจุบัน ?

หลายท่านอาจกังวลว่า การนำเอา EDI มาใช้จะเข้ามาทดแทนการทำงานของพนักงาน ส่งผลให้พนักงานว่างงาน อันที่จริงแล้ว EDI สามารถช่วยลดงานเอกสารที่มีปริมาณมาก และต้องทำซ้ำๆ ทำให้เราสามารถนำพนักงานที่มีอยู่ไปพัฒนาให้ทำงานประเภทอื่นๆที่มีคุณค่าเพิ่มให้กับบริษัทได้ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพการทำงานให้แก่พนักงานและบริษัท

7. EDI ทำงานอย่างไร ?

ขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI มีดังนี้
1. ผู้ส่งทำการเตรียมข้อมูล และแปลงให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน UN/EDIFACT โดยใช้ Translation Software
2. ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการของผู้ให้บริการ EDI ผ่านเครือข่ายสาธารณะโดยใช้ Modem
3. ผู้ให้บริการ EDI จะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในตู้ไปรษณีย์ (Mailbox) ของผู้รับเมื่อข้อมูลไปถึงศูนย์บริการ
4. ผู้รับติดต่อมายังศูนย์บริการผ่าน Modem เพื่อรับข้อมูล EDI ที่อยู่ในตู้ไปรษณีย์ของตน
5. ผู้รับแปลงข้อมูลกลับโดยใช้ Translation Software ให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบงานของตนสามารถรับไปประมวลผลได้

8. Translation Software คืออะไร ?

Translation Software คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน UN/EDIFACT, ANSI X12 ท่านสามารถซื้อโปรแกรมดังกล่าวได้จากผู้ให้บริการ EDI หรือบริษัทคอมพิวเตอร์ที่จำหน่ายซอฟต์แวร์เหล่านี้

9. หน้าที่ของผู้ให้บริการ EDI หรือที่เรียกกันว่า VAN คืออะไร ?

ผู้ให้บริการ EDI ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางไปรษณีย์ ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคู่ค้า ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยปกติผู้ให้บริการ EDI สามารถให้บริการในการรับ-ส่งข้อมูลทั้ง EDI, File Transfer (non-EDI) และ E-mail ความรับผิดชอบหลักของผู้ให้บริการ EDI นอกจากการรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้วยังต้องสามารถรักษาความปลอดภัย ของตู้ไปรษณีย์( Mailbox) ของลูกค้าแต่ละราย มิให้ผู้อื่นเข้าไปดูข้อมูลได้อีกด้วย

10. ขอบเขตการให้บริการ EDI กว้างขวางเพียงใด ?

ท่านสามารถรับ-ส่งเอกสาร EDI ได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เราแบ่งผู้ให้บริการ EDI หรือที่เรียกว่า VAN (Value Added Network) เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

  ผู้ให้บริการ EDI ภายในประเทศ (Domestic VAN) เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัทชินวัตร, บริษัทไทยเทรดเน็ท, และบริษัทเอ็กซิมเน็ท บริษัทเหล่านี้มีศูนย์บริการ (Host) อยู่ในประเทศและจะให้บริการเครือข่ายภายในประเทศเป็นหลัก

  ผู้ให้บริการ EDI ระหว่างประเทศ (International VAN) เช่น IBM , BT , AT&T บริษัทเหล่านี้มีศูนย์บริการ (Host) อยู่ต่างประเทศ และให้บริการเครือข่ายระหว่างประเทศเป็นหลัก

ท่านสามารถเลือกใช้บริการของผู้ให้บริการ EDI ตามความเหมาะสมกับการใช้งานในธุรกิจ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีเอกสารรับส่งระหว่างประเทศเป็นหลักควรเลือกใช้ผู้ให้บริการ EDI ระหว่างประเทศ ส่วนบริษัทที่มีเอกสารรับส่งภายในประเทศเป็นหลัก ควรใช้บริการของผู้ให้บริการ EDI ภายในประเทศเพราะค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่า

11. เหตุใดจึงต้องใช้บริการของ VAN (Value Added Network) ?

หลาย ๆ บริษัทอาจคิดว่าควรติดต่อกับคู่ค้าด้วยตนเองมากกว่าการใช้บริการของ VAN เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นหากแต่ปัญหาที่ต้องประสบรวมถึงปริมาณงานที่เกิดเพิ่มขึ้นมีดังต่อไปนี้

  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบ ระหว่างท่านและคู่ค้าซึ่งจะมีความยุ่งยากเพิ่มขึ้น หากท่านมีคู่ค้าเป็นจำนวนมาก ต้องบริหารเครือข่ายการสื่อสารด้วยตนเอง โดยท่านต้องรับภาระในการดูแลทั้งอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ Modems การส่งและรับข้อมูล สายโทรศัพท์ และอื่นๆ

  ขาดผู้ชำนาญงานในการฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจถึง EDI

  ต้องลงทุนสูงทางด้านอุปกรณ์เครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล


12. ข้อแตกต่างระหว่าง EC (Electronic Commerce)กับ EDI (Electronic Data Interchange) ?

Electronic Commerce หรือ อิเล็กทรอนิกส์วาณิชย์ หมายรวมถึงการค้าขายโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อกลาง เช่น การแลกเปลี่ยนเอกสารโดยใช้ EDI การจ่ายเงินโดยใช้บัตรเครดิตผ่านสายโทรศัพท์ การโฆษณาและสั่งซื้อสินค้าผ่าน Internet เป็นต้น ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า EDI เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ EC

13. EDI กับ E-mail แตกต่างกันอย่างไร ?

E-mail เป็นการส่งข้อความซึ่งไม่มีรูปแบบบังคับเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ไม่มีมาตรฐานกำหนดตายตัว ต่างจาก EDI ซึ่งข้อมูลต้องมีรูปแบบที่แน่นอนภายใต้รูปแบบมาตรฐานสากลเนื่องจากEDIเป็นการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถ นำข้อมูลเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ของบริษัทคู่ค้าได้ทันที โดยไม่ต้องมีคนบันทึกข้อมูลซ้ำ

14. ประโยชน์และข้อแตกต่างระหว่างการใช้ EDI กับ Fax ในการรับ-ส่งเอกสาร ?

สำหรับผู้รับเอกสารท่านสามารถนำข้อมูล EDI ที่ได้รับมาจากบริษัทคู่ค้าขึ้นสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ของท่านได้ทันที โดยไม่ต้องทำการบันทึกข้อมูลซ้ำ ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาและข้อผิดพลาด แตกต่างจากการรับเอกสารทาง Fax ซึ่งส่วนใหญ่จะประสบกับปัญหากระดาษหมด ข้อความไม่ชัดเจน อ่านไม่ได้ อีกทั้งยังไม่มีการรายงานสถานภาพความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารที่ได้รับสำหรับผู้ส่งเอกสาร ท่านสามารถนำข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ของท่าน ผลิตเอกสาร EDI และส่งไปยังคู่ค้าโดยไม่ต้องมีการใส่ข้อมูลหรือพิมพ์ออกมาในแต่ละครั้งของการส่งหากท่านส่งเอกสารผ่านเครื่อง Fax โดยทั่วไปเอกสารต้องถูกจัดพิมพ์ออกมาก่อนจะส่งไปยังคู่ค้าเป็นการเพิ่มทั้งปริมาณงานและปริมาณเอกสารกระดาษที่ใช้

15. อุปกรณ์ที่ต้องจัดเตรียมในการนำ EDI มาใช้ในบริษัท ?

ระบบ EDI ที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกมีอยู่มากมายหลายระบบในที่นี้จะขอกล่าวถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างน้อยในระบบ EDI ที่ใช้ Personal Computer เป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูล
  เครื่อง PC รุ่น 486 ขึ้นไป ที่มีหน่วยความจำอย่างน้อย 4 MB
  Translation Software
  Modem

16. ค่าใช้จ่ายในการนำระบบ EDI มาใช้มีส่วนใดบ้าง ?

ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ EDI ไม่รวมถึงค่าอุปกรณ์ (Hardware) โดยทั่วไปจะประกอบด้วย
  ค่า Set up Mailbox
  ค่า Translation Software
  ค่าบำรุงรักษา Mailbox รายเดือน
  ค่าใช้บริการ (Transaction) โดยปกติคิดจากปริมาณข้อมูลที่รับส่ง (เป็นจำนวน บาท ต่อ 1024 ตัวอักษร)

17. Interconnection หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร ?

Interconnection หมายถึงการเชื่อมต่อระบบกันระหว่างผู้ให้บริการ EDI เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าให้สามารถติดต่อ รับ-ส่งข้อมูล EDI กับคู่ค้าได้ทั้งหมด โดยเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการอำนวยความ สะดวกแล้วยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วยการ Interconnect อาจทำได้ระหว่างผู้ให้บริการภายในประเทศ หรือกับผู้ให้บริการ EDI ในต่างประเทศ

18. Internet มีประโยชน์กับ EDI หรือไม่ ?

การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตการใช้งานไปยังองค์กรต่างๆ ในภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้ปริมาณการใช้และลักษณะการใช้งานเครือข่าย Internet เป็นเครือข่ายที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลกโดยไร้ขอบเขตหากการพัฒนาเทคโนโลยีสามารถแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่าย Internetได้แล้วนั้นจะทำให้การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะกับการใช้เป็นช่องทางการส่งข้อมูล EDI ในอนาคต

19. มีกฎหมายรองรับ EDI ในประเทศไทยหรือไม่ ?

การใช้ EDI ในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะไม่มีกฎหมายบังคับหรือรองรับโดยตรง ทางออกที่หลายๆ ประเทศเริ่มนำมาใช้คือ การทำสัญญาระหว่างคู่ค้าที่รับ-ส่ง EDI กัน โดยระบุความรับผิดชอบหากความผิดพลาดเกิดมาจากการปฎิบัติของคู่ค้าสำหรับประเทศไทยก็เช่นเดียวกันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยตรงยังไม่มีการประกาศใช้ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของการพัฒนาระบบ EDI ในประเทศ สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยี สารสนเทศแห่งชาติ ได้เล็งเห็นปัญหานี้จึงมีการศึกษาหาแนวทางในการพัฒนากฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องการให้การ รับรองและอ้างอิงเอกสารตัวจริงภาระความรับผิดชอบในความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้น และมีแผนที่จะดำเนินการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบ อย่างไรก็ดี จะเห็นว่าปัญหาของกฎหมาย รับรอง EDI ไม่ใช่ปัญหาหลัก ในการนำเอา EDI มาใช้ในธุรกิจในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น อเมริกาและยุโรป เนื่องจาก EDI ได้มีบทบาทมาเป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปี และธุรกิจต่าง ๆมีความเข้าใจและเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของ EDI เป็นอย่างดี

20. ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ EDI ในปัจจุบัน ?

การนำ EDI มาใช้ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันแม้ว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรต่างๆ แต่ก็ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การใช้ EDI ในประเทศไทยไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ดังนี้
  ผู้บริหารระดับสูงไม่ให้ความสนใจและไม่มี Commitment ที่ชัดเจน
  องค์กรส่วนใหญ่ ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง EDI จำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนระบบงานและขั้นตอนการบริหารงานภายใน
  ขาดผู้ชำนาญงานทางด้าน IT ที่จะนำ EDI ไปใช้ให้สอดคล้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
  กฎหมาย และระเบียบของหน่วยงานราชการ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ EDI

21. Bar Code และ EDI เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

Bar Code มีประโยชน์หลักๆ ในการทำให้การรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็วและถูกต้องส่วน EDI มีประโยชน์ในแง่ ที่ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ระหว่างองค์กรเป็นไปอย่างรวดเร็ว และถูกต้อง การใช้ Bar Code จะมีประโยชน์แบบครบวงจร ถ้าข้อมูลที่รวบรวมได้จาก Bar Code สามารถแลกเปลี่ยนกับ บริษัทคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย EDI ในขณะเดียวกัน การใช้ EDI จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อคอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทสามารถอ้างถึงสินค้า สถานที่ ฯลฯ โดยใช้รหัส เดียวกันตามมาตรฐานสากลของ Bar Code เช่น EAN Product Code หรือ EAN Location Number ดังนั้นหากสามารถนำ BarCode และ EDI มาใช้ร่วมกันได้ จะทำให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น


การแลกเปลี่ยนข้อมูล Electronic


บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bulletin Boards services)
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารรวมทั้งแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานข่าวของกลุ่มแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สนใจสามารถเข้ามาชมและฝากข้อความไว้ได้ ทำให้ข่าวสารสามารถแลกเปลี่ยนได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

จดหมายและจดหมายเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail and Vioce Mail)
ระบบการส่งจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข่าวสารโดยระบุตัวผู้รับเช่นเดียวกับการส่งจดหมาย แต่ผู้รับจะได้จดหมายอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นการส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกัยอยู่ ส่วนระบบจดหมายเสียงจะเป็นจดหมายที่ผู้รับสามารถรับฟังเสียงที่ฝากมากได้ด้วย

การประชุมระยะไกลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Teleconference)
การประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องที่ได้ความสนใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งในขณะนี้ โดยผู้ใช้จะสามารถร่วมประชุมกันได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าผู้ใช้งานแต่ละคนอยู่ไกลกันเพียงใดก็ตาม ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยังเป็นการหระหวัดเวลาของผู้ร่วมประชุมแต่ละคนด้วย รวมทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ใช้ตรวจรักษาโรคผ่านระบบประชุมทางไกล หรือใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น

บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Information services)
การบริการสนเทศ เป็นประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยผู้ให้บริการจะสามารถบริการสารสนเทศที่มีความสำรัญและเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ ผ่านทางเครือข่าย ซึ่งผู้ใชจะสามารถเรียกดูสารสนเทศเหล่านั้นได้ทันทีทันใดและตลอด 24 ชั่วโมง

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI)
ระบบ EDI จะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรทางธุรกิจต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารที่เป็นแบบฟอร์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ใบส่งของ ใบสั่งซื้อ หรืออื่น ๆ ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถลดการใช้แบบฟอร์มที่เป็นกระดาษ ลดการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งเพิ่มความเร็วและลดความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์ด้วยมาตรฐานอีดีไอที่ยอมรับใช้งานกันทั่วโลกได้เกิดขึ้นในปี 1987 โดยองค์กรการสหประชาชาติได้พัฒนามาตรฐานที่มีชื่อว่า UN/EDIFACT (United Nations/EDI for Administration Commerce and Transportation) และองค์กร ISO ก็ได้ยอมรับและกำหนดชื่อให้เป็น ISO 9735 ในประเทศไทยก็เริ่มมีองค์การที่มีการนำระบบ EDI มาใช้แล้ว และคาดว่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต

การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer -EFT)
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) เข้า-ออกหรือระหว่างบัญชีของธนาคาร เป็นการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันก็คือการฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM (Automated teller machine) รวมทั้งระบบการโอนเงินระหว่างบัญชี ไม่ว่าจะทำผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารหรือผ่านระบบธนาคารทางโทรศัพท์ก็ตาม


การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shopping)
บริการการสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิคส์ กล่าวได้ว่าเป็นแนวโน้มของการค้าโลกในยุคต่อไป ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าจากบ้านหรือที่ทำงาน โดยดูลักษณะของสินค้าจากภาพที่ส่งมาแสดงที่หน้าจอ และผู้ค้าสามารถได้รับเงินจากผู้ซื้อด้วยบริการโอนเงินทางอิเลคทรอนิกส์แบบต่าง ๆ ทันที

อุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่อข่าย



ฮับ (hub)
เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานี เข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้น ทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส (address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต

อุปกรณ์สวิตซ์ (switch)
เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี(อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย




      อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router)
ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน จะมีเส้น   ทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะหาเส้นทางที่เหมาะสมให้ เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น


อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย ( Access Point)
ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็น    สะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้ 




โปรโตคอล (Protocol)

         คือข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในบางกรณีถ้าคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันคนละภาษากันและต้องการนำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอลกลับไปกลับมาซึ่งนิยมเรียกว่า Gateway ถ้าเทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งมีอยู่ทั้งที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรือาจะเป็นโปรแกรมหรือไดร์ฟเวอร์ที่สามารถติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้เลย

         การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้นั้น จะต้องอาศัยกลไกหลายๆ อย่างร่วมกันทำงานต่างหน้าที่กัน และเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การเชื่อมต่อมีความแตกต่างระหว่างระบบและอุปกรณ์หรือเป็นผู้ผลิตคนละรายกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากขาดมาตรฐานกลางที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ

         จึงได้้เกิดหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นคือ International Standards Organization และทำการกำหนดโครงสร้างทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลและเป็นระบบเปิด เพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆ สามารถแยกผลิตในส่วนที่ตัวเองถนัด แต่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างทีแน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้นๆ ( layer) โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI (Open System Interconnection Reference Model) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า OSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร International Standard Organization (ISO) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของผู้ขายรายใด


ตัวอย่าง โปรโตคอล ต่างๆ
โปรโตคอล IGMP (Internet Group Message Protocol)
        โปรโตคอล IP ยังสามารถแบ่งการสื่อสารออกเป็นสองชนิดด้วยกันคือ แบบยูนิคาสติ้ง (Unicasting) และ แบบมัลติคาสติ้ง (Multicasting) โดยยูนิคาสติ้งเป็นการสื่อสารระหว่างฝ่ายส่งและฝ่ายรับ ซึ่งเป็นเการสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
        ปัจจุบันได้มีแอปพลิเคชันมากมายที่ใช้สำหรับเพื่อการนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ไอพีก็สนับสนุนวิธีการส่งแบบมัลติคาสติ้ง เช่น หมายเลขไอพีแบบมัลติคาสต์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลคลาส D โดย 4 บิตแรก (High-OrderBit) ที่เริ่มต้นด้วย 1110 จะใช้กำหนดกลุ่มของโฮสต์มัลติคาสต์ และด้วยการส่งข้อมูลแบบมัลติคาสต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็จะทำให้ข้อมูลเพียงชุดเดียวที่มาจากฝ่ายส่งจะมาถึงกลุ่มผู้รับหลายๆ คน หรือเป็นกลุ่มสมาชิกได้ด้วยการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเพียงครั้งเดียว ทำให้ลดแบนด์วิดธ์ลงได้มาก ซึ่งแตกต่งจากการส่งข้อมูลแบบบรอดคาสต์ที่โฮสต์บางโฮสต์อาจไม่ต้องการรับข้อมูลเหล่านั้น หรือการส่งแบบยูนิคาสต์ที่โฮสต์ต้นทางจะต้องทำการจัดส่งหลายรอบ ซึ่งจะเท่ากับจำนวนของโฮสต์ปลายทางที่ต้องการข้อมูล ทำให้สิ้นเปลืองแบนด์วิดธ์ ดังนั้นไอ-พีมัลติคาสต์จึงเหมาะกับการนำมาใช้งานบนเครือข่ายกับข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย การประชุมผ่านวิดีโอคอมเฟอร์เร็นซ์ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดแบนด์วิดธ์บนลิงก์มาก เนื่องจากโฮสต์ต้นทางจะส่งข้อมูลเพียงชุดเดียว ไปยังกลุ่มปลายทางที่อยู่ในกลุ่มสมาชิกเดียวกันได้ด้วยการส่งเพียงครั้งเดียว


โปรโตคอล UDP (User Datagram Protocol)
        โปรโตคอล UDP เป็นโปรโตคอลในลำดับชั้นทรานสปอร์ต โดยในส่วนของเฮดเดอร์จะประกอบด้วยส่วนของหมายเลขพอร์ตต้นทาง/ปลายทาง ขนาดความกว้างของข้อมูล และตัวควบคุมข้อผิดพลาด (Checksum) โดยแพ็กเก็ตที่ประกอบขึ้นจาก UDP นี้จะเรียกว่า ยูสเซอร์ดาต้าแกรม (User Datagram)
UDP เป็นโปรโตคอลชนิดคอนเน็กชันเลส ที่ไม่มีการสร้างคอนเน็กชันกับสถานีปลายทางก่อนการส่งข้อมูลดังนั้น เมื่อมีข้อมูลที่จะส่ง UDP ก็จะดำเนินการส่งข้อมูลเหล่านั้นทันที และไม่มีการรับประกันถึงข้อมูลที่ส่งว่าไปถึงปลายทางผู้รับหรือไป และหากข้อมูลไปไม่ถึงปลายทางหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา ลำดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะต้องเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขเอง ดังนั้น โปรโตคอล UDP จึงเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (Unreliable) โดยรายละเอียดภายในเฮดเดอร์ของโปรโตคอล UDP อธิบายได้ดังต่อไปนี้
w Source Port Address
คือ หมายเลขพอร์ตของฝ่ายต้นทาง
w Destination Port Address
คือ หมายเลขพอร์ตของฝ่ายปลายทาง
w Total Length
คือ ฟิลด์ที่ใช้ระบุความยาวทั้งหมดของยูสเซอร์ดาต้าแกรม ซึ่งมีหน่วยเป็นไบต์
w Checksum
คือ ตัวที่ใช้สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาด โดยใช้แบบ Checksum ขนาด 16 บิต

โปรโตคอล IP (InterNetwork Protocol)
        IP เป็นกลไกการส่งข้อมูลที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP ในลักษณะคอนเน็กชันเลส โดยจะไม่รับประกันการส่งข้อมูลว่าจะไปถึงผู้รับหรือไม่ ไม่มีการตรวจสอบข้อผิดพลาด และด้วยการปราศจากกลไกการรับประกันข้อมูลที่ส่งไปถึงปลายทาง การไม่มีการตรวจสอบข้อผิดพลาด ละไม่ต้องสร้างคอนเน็กชันกับโฮสต์ปลายทางนี้เองจึงทำให้หลักการทำงานของโปรโตคอล IP นี้ไม่มีความซับซ้อน โดยมีหน้าที่เพียงนำส่งข้อมูลไปถึงปลายทางได้ด้วยหมายเลข IP ซึ่งเป็นหมายเลขที่ใช้ระบุตำแหน่งเครื่องและเป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน
        อย่างไรก็ตาม หากความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลไปยังปลายทางเป็นสิ่งจำเป็น โปรโตคอล IP ก็จะทำงานควบคู่ไปกับโปรโตคอลที่มีเครื่องมือในการตรวจสอบข้อมูลว่าส่งไปถึงปลายทางหรือไม่ นั่นก็คือโปรโตคอล TCP ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนด้วยการเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายไปรษณีย์ โดยการส่งจดหมายแบบปกติ ผู้ส่งจะนำจดหมายมาใส่ซองติดแสตมป์และนำไปหยอดลงในตู้ส่งจดหมาย จากนั้นเมื่อถึงเวลาบุรุษไปรษณีย์ก็จะเปิดตู้จดหมาย เพื่อนำจดหมายนี้ส่งไปถึงผู้รับปลายทางตามที่อยู่ที่ได้จ่าหน้าซองไว้ ซึ่งการส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะไม่มีการรับประกันการส่งว่าจดหมายนี้จะถึงผู้รับปลายทางหรือไม่ จดหมายอาจมีการตกหล่นหรือสูญ-หายระหว่างทางก็เป็นได้ ดังนั้น หากผู้ส่งต้องการความน่าเชื่อถือด้วยวิธีรับประกันว่า จดหมายฉบับนี้จะส่งถึงมือผู้รับอย่างแน่นอน หรือหากไม่ถึงผู้รับ ก็จะต้องได้รับแจ้งข่างสารกลับมาให้ทราบ การส่งจดหมายในลักษณะนี้จึงจำเป็นต้องมีการลงทะเบียน โดยผู้รับจะต้องมีการเซ็นรับจดหมายเพื่อยืนยันว่าได้รับจดหมายฉบับนี้จริง จึงถือเป็นกระบวนการส่งจดหมายถึงผู้รับเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น IP ก็เปรียบเสมือนกับการส่งจดหมายธรรมดา ในขณะที่ TCP ก็คือการส่งจดหมายแบบลงทะเบียนที่มีการรับประกันการส่งถึงมือผู้รับนั่นเอง

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language)


        มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ต่างเรียกว่าภาษาธรรมชาติ (artificial language) เพระมีการศึกษาได้ยิน ได้ฟังกันมาตั้งแต่เกิด

        ภาษาคอมพิวเตอร์์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม

          ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล(compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง

         ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ (แทบทุกชนิดเป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้ แต่ออกแบบมาเพื่อให้โค้ดกระชับซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้ง่ายกว่า


        การใช้งานทางคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษาสำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ภาษาประดิษฐ์ (artificial language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คือ อยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่จำกัด และมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็น ภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (formal language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน กฎเกณฑ์ของภาษา จะขึ้นกับหลักไวยากรณ์ และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
        ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (machine language) ภาษาระดับต่ำ (low-ianguage) และภาษาระดับสูง (high-level language)

1. ภาษาเครื่อง
        ภาษาเครื่อง เป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ โดยเขียนอยู่ในรูปของรหัสของระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วยเลข 0 และเลข 1 ที่นำมาเขียนเรียงติดต่อกัน ประโยคคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไร เช่น สั่งให้ทำการบวกเลข สั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายข้อมูล เป็นต้น และอีกส่วนเพื่อบอกแหล่งข้อมูลที่จะนำมาทำงานตามที่ระบุในตอนแรก
        การเขียนโปรแกรม หรือชุดคำสั่งด้วยภาษาเครื่อง นับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่สะดวกและเสียเวลา เพราะผู้ใช้จะต้องทราบรหัสแทนการทำงานต่าง ๆ และต้องรู้ขั้นตอนการทำงานภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเอียด ถ้าใช้คำสั่งไม่ถูกต้องเกิดการผิดพลาด โอกาสที่จะเข้าไปทำการแก้ไขก็ทำได้ยากและเสียเวลามาก มนุษย์จึงพยายามคิดภาษาให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ด้วยการสร้างภาษาระดับต่ำในเวลาต่อมา

2. ภาษาระดับต่ำหรือภาษาแอสเซมบลี
        ภาษาระดับต่ำ หรือภาษาแอสเซมบลี ลักษณะของภาษานี้จะเป็นการใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ แทนเลขฐานสอง โดยคำที่กำหนดขึ้นจะมีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่าย เช่น จะใช้คำสั่ง ADD แทนการบวก คำสั่ง SUB แทนการลบ เป็นต้น ขณะดียวกัน ส่วนที่ใช้บอกแหล่งข้อมูลก็จะแทนด้วยชุดของตัวอักษรที่เรียกว่าตัวแปร เช่น คำสั่ง ADD A,B จะหมายถึงให้นำข้อมูลที่ตำแหน่ง A และตำแหน่ง B มาบวกรวมกัน แล้วนำผลลัพธ์ไปเก็บที่ตำแหน่ง a เป็นต้น
        เนื่องจากลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์จะรับรู้ หรือทำงานด้วยภาษาเครื่องที่เป็นเลขฐานสองเท่านั้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมบลี จะต้องผ่านกระบวนการแปลเสียก่อน โดยแปลภาษาแอสแซมบลี ตัวแปลภาษาแอสแซมบลีนี้เรียกว่า แอสแซมเบลอร์ (assembler)
        การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมบลี ถึงแม้ว่าจะง่ายและเสียเวลาน้อยกว่าการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง แต่มีข้อเสียคือผู้ใช้จะต้องเรียนรู้โครงสร้างของระบบเครื่องนั้นอย่างละเอียด เพราะภาษาแอสแซมบลีเป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ จะใช้กับเครื่องระบบนั้น ถ้าใช้เครื่องต่างระบบที่มีตัวประมวลผลต่างกัน จะต้องเรียนรู้โครงสร้างภายในและชุดคำสั่งสำหรับเครื่องนั้นใหม่ทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไม่สะดวก

3. ภาษาระดับสูง
        ภาษาระดับสูง การพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา จึงพยายามให้เป็นภาษาที่สามารถนำไปใช้กับเครื่องต่างระบบกัน ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด โปรแกรมที่เขียนสั่งงานกับเครื่องระบบหนึ่ง ก็สามารถนำไปใช้หรือดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเพื่อสั่งงานกับเครื่องอีกระบบหนึ่งได้ ลักษณะของภาษาจะพยายามให้ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เราสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภาษาในยุคหลังนี้ เรียกว่า ภาษาระดับสูง ซึ่งได้มีการคิดค้นพัฒนาออกมาหลายภาษาด้วยกัน ที่เด่น ๆ และนิยมกันมาก ได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาปาสกาล (PASCAL) ภาษาซี (C) ภาษาเอดา (ADA) ภาษาลิสป์ (LISP) และภาษาโปรลอก (PROLOG) เป็นต้น

        เมื่อเราเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงแล้ว จะนำไปสั่งงานคอมพิวเตอร์โดยตรงยังไม่ได้ จะต้องผ่านขั้นตอนการแปลภาษาอีก เหมือนกรณีของภาษาแอสเซมบลี ตัวแปลภาษา เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง อาจแบ่งได้เป็นสองแบบ คือ อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) และคอมไพเลอร์ (compiler)

       ลักษณะของการแปลภาษาของอินเตอร์พรีเตอร์จะแปลและสั่งเครื่องให้ทำงานตามคำสั่ง ทันทีทีละคำสั่งจนจบโปรแกรม แต่การแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์จะเป็นการแปลทุกคำสั่งที่อยู่ในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องเก็บไว้เป็นแฟ้มก่อน การเรียกทำงานจะเป็นการนำแฟ้มภาษาเครื่องมาทำงานทีเดียว ดังนั้นการทำงานด้วยตัวแปลแบบคอมไพเลอร์จึงทำงานได้รวดเร็วและนิยมกันมากในปัจจุบัน

        ตัวอย่าง โปรแกรมภาษาเบสิกแสดงการคำนวณ พื้นที่ของสามเหลี่ยมที่กำหนดฐานและส่วนสูงมาให้และแสดงผลลัพธ์อาจเขียนได้ง่าย ๆ ดังนี้

---------BASE = 4
---------HEIGHT = 6
---------AREA = 0.5 * BASE * HEIGHT
---------PRINT AREA
---------END

แนวโน้มเทคโนโลยี hardware และ software


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ก็ได้มีการพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
           ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท ส่งผลต่อการให้บริการขององค์กรและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจการในแต่ละวัน

 การปฎิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรมาจากพลังงานน้ำ พลังงานไอน้ำ และเปลี่ยนเป็นพลังงานจากน้ำมัน มีการขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า
                การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีก โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานจาก
ทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ การทำงานเหล่านี้ล้วนแต่อาศัยระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มใช้งานในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยในปี พ.ศ. 2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในขณะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงาน
ที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยงานเท่าใดนัก
               งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนันสนุน อย่างเต็มที่ มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา

 เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อผสม (multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียงและวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนาและเป็นที่นิยมอย่างสูง
               ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อผสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่า
อัตราการเติมโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยใช้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลก ในลักษณะที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ e-mail) สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีดความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์หรือรับส่งโทรสารได้อีกด้วย


       การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้านต่างๆ ดังนี้          การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ด้านข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ 
โดยเฉพาะข้อมูลและ การติดต่อสื่อสาร (communication) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ หากการดำเนินงานธุรกิจใช้ข้อมูลซึ่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่แฟ้ม การเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว  ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

โปรแกรมประยุกต์


โปรแกรม:  cFosSpeed
ขนาดไฟล์ : 4.40 Mbyte.
ลิขสิทธิ์ : Freeware
หมวดหมู่โปรแกรม : Internet Software

รายละเอียดโปรแกรม : โปรแกรมเร่งความเร็วอินเทอร์เน็ต cFosSpeed เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ท่านสามารถปรับแต่ง คอมพิวเตอร์ที่ล้าช้าให้เร็วมากขึ้น อัพเดทตัวใหม่ cFosSpeed 6.61 Build 1897 โปรแกรมมีคุณสมบัติมากมายอาทิเช่น ช่วยเพิ่มความเร็วให้กับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและการเล่นเกมส์ออนไลน์ การดูหนัง ฟังเพลงให้เร็วขึ้นไม่มีกระตุก หรือการโหลดหน้าเว็บเพจได้เร็วขึ้น ถึงแม้จะเปิดเว็บเบราเซอร์หลาย ๆ ตัวโปรแกรมก็ตาม จะช่วยเแบ่งทราฟฟิกและจัดระเบียบในการโหลดให้เหลือช่องว่างของเวลาที่เสียไป น้อยที่สุด จากการใช้เทคโนโลยี P2P และสามารถดาวน์โหลดไฟล์หนัง เพลง คลิป หรือไฟล์อื่น ๆ ได้เร็วขึ้นหลายเท่าตัวเลยที่เดียวครับ ใครสนใจลองดาวน์โหลดไปใช้งานฟรีกันเลย




โปรแกรม: AIMP
ขนาดไฟล์ : 9.93 Mbyte.
ลิขสิทธิ์ : Freeware 
หมวดหมู่โปรแกรม : Mutimedia, Audio and Video Software

รายละเอียดโปรแกรม : โปรแกรมดูหนัง ฟังเพลงฟรี อัพเดทเวอร์ชันล่าสุด AIMP 3.00 Build 950,AIMP 2.61 Build 583 ตัวโปรแกรมใช้เทคโนโลยีในการประมวลผลภาพและรักษาคุณภาพเสียงให้ชัดและใส เหมือนต้นฉบับจริง สามารถปรับประเภทของเสียงได้หลากหลายรูปแบบ เช่น Reverb, Flanger, Chorus, Pitch, Tempo, Echo, Speed รองรับไฟล์หลายนามสกุลอาทิ MP1, MP2, MP3, MPC / MP+, AAC, AC3, Ogg, FLAC,APE, WavPack, Speex, WAV, CDA, WMA, S3M, XM, MOD, IT, MO3, MTM, UMX, ... สามารถสร้าง Playlist ได้ไม่จำกัด, สามารถฟังวิทยุออนไลน์ได้, สามารถบันทึกเสียงเพลงหรือวิทยุได้, และสามารถแปลงไฟล์ AudioCD (CDA) ไปเป็น MP3, OGG, WAV or WMA ได้ ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็กติดตั้งง่ายใช้งานสะดวก